“ทางม้าลาย – หัวหาย” ฟอนต์ไทยในเส้นทางประชาธิปไตย

ทางม้าลาย 4

การชุมนุมทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นการพังเพดานการวิพากษ์วิจารณ์แล้ว ยังเปิดพื้นที่ความคิดสร้างสรรค์ให้ประชาชนและคนรุ่นใหม่ได้ “ปล่อยของ” กันอย่างเต็มที่

ข่าวออกแบบ โดยเฉพาะเหล่าศิลปินและนักออกแบบที่สร้างสรรค์ผลงานเพื่อส่งเสียงแสดงจุดยืนทางการเมือง หนึ่งในฉากการเคลื่อนไหวทางการเมืองของศิลปินที่น่าสนใจ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน ที่กราฟิกคำว่า “ศักดินา” ถูกพ่นลงบนมุมหนึ่งของถนนราชดำเนิน ให้ผู้คนได้เดินย่ำราวกับเป็นทางม้าลายสไตล์ใหม่ ก่อนที่ฟอนต์นี้จะถูกนำไปดัดแปลงและปรากฏในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเห็นได้ชัดว่านี่ไม่ใช่แค่ปฏิบัติการก่อกวนผู้มีอำนาจสนุกๆ เท่านั้น แต่น่าจะมีความหมายบางอย่างการไถ่บาปของคนรุ่น “ห่วยๆ”Sanook พูดคุยกับเจ้าของเพจ “ประชาธิปไทป์” (PrachathipaType) และผู้ออกแบบฟอนต์ “ทางม้าลาย” และฟอนต์ “หัวหาย” ที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการแสดงออกทางการเมืองในขณะนี้ โดยเขาเล่าว่า เขาเป็นคนที่ตั้งคำถามกับการเมืองและสภาพสังคมไทยมาตั้งแต่ยังเรียนชั้นมัธยม ท่ามกลางคนรอบข้างที่มีจุดยืนทางการเมืองที่แตกต่างกับตนเอง ทว่าจุดที่นำไปสู่ความอึดอัดใจ มาจากการแสดงผลงานศิลปะเนื่องในวันสากลแห่งการเข้าถึงข้อมูล เมื่อปี 2561 ที่เขาถูกขอให้ปรับผลงานให้ “เบา” ลง ยิ่งกว่านั้น สื่อมวลชนสำนักหนึ่งได้มาสัมภาษณ์ และตีพิมพ์ภาพใบหน้าของเขาใหญ่กว่าผลงานศิลปะ จนเพื่อนฝูงนำมาหยอกล้อกันด้วยมุกตลกอย่าง “เดี๋ยวทหารก็ไปเยี่ยมบ้านหรอก” โดยที่ไม่มีใครสนใจจะวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆความอึดอัดที่ไม่สามารถพูดเรื่องสถานการณ์บ้านเมืองกับคนรอบข้างได้ ประกอบกับกระแสความตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ที่เขาได้สัมผัส ทำให้เขาเริ่มคิดถึงการ “ไถ่บาป” ในฐานะคนรุ่นเก่าที่ปล่อยให้สังคมมาถึงจุดวิกฤต และยังส่งต่อสังคมเช่นนี้ให้กับคนรุ่นหลัง

ทางม้าลาย 4

“พอเราเริ่มเห็นเด็กๆ เคลื่อนไหวกัน เราก็เลยคิดว่า แล้วคนอายุ 40 อย่างเราทำอะไรได้บ้างวะ คนรุ่นเราที่ปล่อยให้บ้านเมืองเละเทะ เราทำอะไรได้ไหมในฐานะวิชาชีพเรา ที่เป็นกราฟิกดีไซน์เนอร์ แล้วเราทำอะไรได้ไหมในสภาวะที่เด็กๆ มันเก่งกว่าเราไปหมดแล้ว ทำอะไรล้ำกว่าเราไปหมดแล้ว เราจะช่วยอะไรได้มากกว่าให้เงินไหม”

ข่าวออกแบบ ทางม้าลายและประชาธิปไทป์ในฐานะกราฟิกดีไซน์เนอร์ สิ่งที่เขาพอจะทำได้เพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็หนีไม่พ้นการสื่อสารผ่านงานกราฟิก และหนึ่งในนั้นคือการใช้ฟอนต์ทางม้าลายในการ “ส่งเสียง” ในพื้นที่ชุมนุมทางการเมือง เขาเล่าว่า ฟอนต์นี้เป็นฟอนต์ที่เขาเคยออกแบบไว้สำหรับการรณรงค์ไม่เอาทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา และนำกลับมาปรับปรุงอีกครั้ง สำหรับให้ “Headache Stencil” ศิลปินกราฟิตีชื่อดัง ใช้พ่นกราฟิตีลงบนถนนในการชุมนุมวันที่ 19 กันยายน ที่ผ่านมา“เรามีตัวหนังสือที่หนักมาก ตันมาก แข็งมากอยู่ชุดหนึ่ง ก็เอามาเรียงๆ แล้วก็เพิ่มรอยบากให้มันเป็นลายฉลุได้ เราเทียบสเกลโดยการเล็งจาก Google Street View เลย วัดความกว้างของถนน แล้วก็มาสรุปที่ว่าตัวหนังสือ 1 ตัว สูงเมตรครึ่ง เพราะฉะนั้น การที่มันสูงเมตรครึ่ง พวกรอยบากมันสามารถบางได้มากๆ ฟอร์มมันก็เลยมาทีหลังฟังก์ชัน มันก็วุ่นวายหลายอย่าง จะพ่นตรงไหน จุดที่แอบมาเล็งไว้ตอนตี 2 มันไม่ว่างแล้ว ฝนตก”

แนะนำข่าวออกแบบ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย :  เปิดพิพิธภัณฑ์ V&A หลังคลายล็อกดาวน์ ขายบัตรเกลี้ยง โหยหาเสพงานศิลป์จับต้องได้